วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บุคลากรทางการศึกษา




ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

          ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในราชการไทย ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ข้าราชการครู" ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการครูที่สังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูเทศบาล พนักงานครูองค์การบริหารส่วนตำบล ปัจจุบันมี 3 ประเภท



วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

งานส่งก่อนสอบ แบบทดสอบภาษาไทย ป. 4 นางสาวราภรณ์ ไผทรัตนตรัย

https://docs.google.com/forms/d/11MvgLVf1whBMrL2H6aOgiEZ0eO4VMXpy92cQiPGzQhw/edit

สือการสอนอักษรสามหมู่

thai-alphabet
พยัญชนะไทยมี 44 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะการผันอักษรได้ 3 กลุ่ม เรียกว่าอักษร 3 หมู่ ดังนี้1. อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อการจำอักษรกลาง >> ให้ท่องว่า : ไก่ จิก เฎ็ก ฏาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่งไก่ ( ก ) จิก ( จ ) เด็ก( ฎ ) ตาย ( ฏ ) เด็ก ( ด ) ตาย ( ต ) บน ( บ ) ปาก ( ป ) โอ่ง ( อ )
2. อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส หการจำอักษรสูง >> ให้ท่องว่า : ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉันผี ( ผ ) ฝาก ( ฝ ) ถุง ( ฐ ถ ) ข้าว ( ฃ ข ) สาร ( ศ ษ ส ) ให้ ( ห ) ฉัน ( ฉ )
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว สำหรับอักษรต่ำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คืออักษรคู่และอักษรเดี่ยว 
     3.1 อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับกับอักษรสูง เช่น ข กับ ค พ กับ ผ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ     การจำอักษรต่ำ ประเภทอักษรคู่ >> ให้ท่องว่า : พ่อ ค้า ฟัน ทอง ซื้อ ช้าง ฮ่อ     พ่อ ( พ ภ ) ค้า ( ค ฅ ) ฟัน ( ฟ ) ทอง ( ฒ ฑ ท ธ ) ซื้อ ( ซ ) ช้าง ( ช ) ฮ่อ (ฮ )
     3.2 อักษรเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ     การจำอักษรต่ำ ประเภทอักษรเดี่ยว >> ให้ท่องว่า : งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก      งู ( ง ) ใหญ่ ( ญ ) นอน ( น ) อยู่ ( ย ) ณ( ณ ) ริม ( ร ) วัด ( ว ) โม ( ม ) ฬี ( ฬ ) โลก ( ล )

คำคล้องจอง


วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สื่อการสอนเรื่อง คำควบกล้ำ ป.5 นางสาวศิริวรรณ สิริธารกุล การสอนภาษาไทย ปี4/3

คำควบกล้ำ
           
          คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
พยัญชนะสองตัวเรียงกัน
มี 
ร ล ว ควบกับตัวหน้า
 
ร่วมสระผันในหลักภาษา
เสียงที่ออกมาร่วมฟ้าเดียวกัน
           ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี   ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
    
เช่น      าบ    สะกดว่า      + อา + บ      อ่านว่า       กราบ
  
              แป   สะกดว่า    ป + แอ + ง        อ่านว่า      แปรง               กาง    สะกดว่า      + อา + ง      อ่านว่า      กลาง
               คาย    สะกดว่า      + อา + ย        อ่านว่า      ควาย
      
         แ    สะกดว่า    ข + แอ + น        อ่านว่า      แขวน2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
    
เช่น       าด  สะกดว่า      ตล + อา + ด      อ่านว่า     ตะ - หลาด
                 สาย    สะกดว่า     + อา + ย       อ่านว่า      สวาย
                 สว่าง    สะกดว่า      + อา + ง+    อ่านว่า      สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มีนำ
    เช่น       อก     สะกดว่า    + ออ + ก           อ่านว่า      หรอก
                 
ลั     สะกดว่า     + อะ + บ           อ่านว่า      หลับ
                 แห    สะกดว่า     + แอ+ น            อ่านว่า      แหวน
4. 
ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีควบกล้ำ
    
เช่น       สวย      สะกดว่า    ส + อัว + ย            อ่านว่า      สวย
                 
ควร      สะกดว่า     ค +ัว +              อ่านว่า       ควร
ห้ามมี ห นำ ห้ามมีเสียง อะ
มีเสียง ห นำ มีเสียง อะ กั้น
หรือมีเสียง อัว ถ้ามี ว ด้วย
มิใช่ควบกล้ำอย่างที่คุ้นเคย
 
หลอกหรือสวะตลาดสวรรค์
อย่าไปเรียกมันว่าคำควบเลย
มันอ่านว่า ซวย เสียแล้วหละเหวย
ฟังคำเฉลยที่จะรำพัน

           พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กร-   ขร-   คร-   ตร-   ปร-  พร-     เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
            พยัญชนะต้นควบกับ ลได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กล-   ขล-   คล-   ปล-  พล-     เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก  เกล็ดปลา ตีกลอง
           พยัญชนะต้นควบกับ วได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กว-   ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด








สื่อการสอนเรื่อง คำราชาศัพท์ ชั้น ป.5 นางสาวสุดาพร พงศ์ประทีปชัย การสอนภาษาไทย 4/3


ความหมายของคำราชาศัพท์

        คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
  4. ขุนนาง ข้าราชการ
  5. สุภาพชน

คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ


 คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม

คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
หัว(พระมหากษัตริย์)พระเจ้าหัวพระเศียร
ผม(พระมหากษัตริย์)เส้นพระเจ้าผมพระเกศา,พระเกศ,พระศก
หน้าผากพระนลาฎคิวพระขนง,พระภมู
ขนระหว่างคิวพระอุณาโลมดวงตาพระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร
จมูกพระนาสา,พระนาสิกแก้มพระปราง
ปากพระโอษฐ์ฟันพระทนต์
ลิ้นพระชิวหาคางพระหนุ
หูพระกรรณคอพระศอ
ดวงตาพระเนตรหนวดพระมัสสุ
บ่า,ไหล่พระอังสาต้นแขนพระพาหา,พระพาหุ
ปลายแขนพระกรมือพระหัตถ์
นิ้วมือพระองคุลีเล็บพระนขา
ห้องพระอุทรเอวพระกฤษฎี,บั้นพระเอว
ขา,ตักพระเพลาแข้งพระชงฆ์
เท้าพระบาทขนพระโลมา
ปอดพระปัปผาสะกระดูกพระอัฐิ
หมวดขัตติยตระกูล
คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ปู่,ตาพระอัยกาย่า,ยายพระอัยยิกา,พระอัยกี
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อพระปิตุลาป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ)พระมาตุจฉา
พ่อพระชนก,พระบิดาแม่พระชนนี,พระมารดา
พี่ชายพระเชษฐา,พระเชษฐภาตาน้องสาวพระราชธิดา,พระธิดา
หลานพระนัดดาแหลนพระปนัดดา
ลูกเขยพระชามาดาลูกสะใภ้พระสุณิสา

หมวดเครื่องใช้
คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์คำสามัญคำราชาศัพท์
ยาพระโอสถแว่นตาฉลองพระเนตรหวีพระสาง
กระจกพระฉายน้ำหอมพระสุคนธ์หมวกพระมาลา
ตุ้มหูพระกุณฑลแหวนพระธำมรงค์ร่มพระกลด
ประตูพระทวารหน้าต่างพระบัญชรอาวุธพระแสง
ฟูกพระบรรจถรณ์เตียงนอนพระแท่นบรรทมมุ้งพระวิสูตร
ผ้าห่มนอนผ้าคลุมบรรทมผ้านุ่งพระภูษาทรงผ้าเช็ดหน้าผ้าชับพระพักตร์
น้ำพระสุธารสเหล้าน้ำจัณฑ์ของกินเครื่อง
ช้อนพระหัตถ์ ช้อนข้าวพระกระยาเสวยหมากพระศรี



สือการสอนเรื่อสุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ชั้นป. 4 นางสาววิยะดา เรืองกิตติเศรษฐ การสอนภาษาไทย 4/3



ความหมายสำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช้พูดสื่อสารกันมีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง แต่เป็นที่เข้าใจกันแพร่หลาย ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้จะสลับที่หรือตัดทอนไม่ได้ เช่น หัวหกก้นขวิด หมูไปไก่มา ตีนเท่าฝาหอย อ้อยเข้าปากช้าง ขวานผ่าซาก คว้าน้ำเหลว ปั้นน้ำเป็นตัว ฯลฯ
คำพังเพย จะเป็นคำที่กล่าวกลางไว้ให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น คางคกขึ้นวอ กระต่ายตื่นตูม เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวเป็นทำนองให้ข้อคิด คติ สั่งสอน เพื่อให้กระทำความดีและละเว้นความชั่ว เช่น ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กงเกวียนกงกรรม รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี
ข้อสังเกต โดยทั่วไปสำนวนจะมีความหมายครอบคลุมถึง สุภาษิต สุภาษิต คำพังเพย จึงยากที่จะแยกกันได้เด็ดขาด

ตัวอย่างสุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย

กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง  ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
กระต่ายหมายจันทร์
หมายถึง  ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กำขี้ดีกว่ากำตด
หมายถึง  ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
กินน้ำไต้ศอก
หมายถึง  จำต้องยอมเป็นรองเขาไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง)
กาคาบพริก
หมายถึง  ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแดง
กินบนเรือน ขี้บนหลังคา
หมายถึง  คนเนรคุณ



สร้างสื่อการสอน เรื่อง อ่านคำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ ๒

คำคล้องจอง


              คำคล้องจอง คือ คำที่ใช้สระหรือพยัญชนะเสียงเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดจะต้องมีตัวสะกดในมาตราเดียวกัน คำคล้องจองเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคำสัมผัส

        คำคล้องจองมีหลายลักษณะ ในชั้นเรียนนี้จะกล่าวถึงคำคล้องจอง  ๒ คำ และคำคล้องจอง ๓ คำ
คำคล้องจอง ๒ คำ เช่น